องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับ

ในการออกแบบ เครื่องประดับแต่ละชิ้น ก่อนจะกล่าวถึงแนวทาง การออกแบบที่ใช้รูปแบบต่างๆ ที่จัดไว้หรือเลือก ไว้องค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำมาใช้บนชิ้นงาน นั้นก็ควรคำนึงถึงด้วย
ประเภทของวัสดุที่จะนำมาใช้ เริ่มตั้งแต่
  • จะใช้โลหะ อโลหะ วัสดุอื่นๆ เช่น ไม้ พลาสติก หนัง เซรามิค ยาง ขนสัตว์สังเคราะห์ เป็นต้น
  • อัญมณีที่ใช้ประดับ อินทรียวัตถุต่างๆ เช่น มุก ปะการัง เขาสัตว์ เปลือกหอย กระดองสัตว์ หรือหินต่างๆ (Rock mineral) กรรมวิธีการผลิต โดยสังเขป จะเลือกใช้อะไรบ้าง เช่น
ประเภทการฝังอัญมณี
เลือกรูปทรงการเจียระไน ของอัญมณีที่ต้องการ
แกะสลักแบบที่ต้องการ
สีสันของอัญมณี หรืออินทรีย์วัตถุ หรือหินสีต่างๆ
พื้นผิวควรจะเป็นอย่างไร
การแกะสลัก ฯลฯ
  • เทคนิคต่างๆ ที่นำมาใช้กับชิ้นงาน เช่น การลงยา (enameling) การชุบสีของโลหะ การย้อมดำบนโลหะ เป็นต้น และถ้าขาด องค์ประกอบเหล่านี้ การออกแบบ การผลิตเครื่องประดับ ก็จะไม่เกิดขึ้น
เมื่อชิ้นงานแต่ละชิ้น ได้ออกแบบและผลิตเสร็จลุล่วงไป จะนำมาคัดสรรในกลุ่มการออกแบบที่ได้แบ่งแยก ไว้ตามการออกแบบเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
  1. รูปทรงเรขาคณิต (geometric form)
  2. รูปทรงอิสระ (free form)
  3. รูปทรงธรรมชาติ (natural form)
  4. รูปแบบที่ได้จากการทำเครื่องประดับในอดีต (cultural and ethnical style)
  5. รูปทรงแห่งการผสมผสาน (miscellaneous)
1. รูปทรงแบบเรขาคณิต (geometric form)
ในการออกแบบเครื่องประดับที่มีการนำรูปเหลี่ยมต่างๆ ที่เรารู้จักเป็นอย่างดี เช่น
  1. กลุ่มของรูปทรงเหลี่ยม ได้แก่ สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมคางหมู, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, หกเหลี่ยม, แปดเหลี่ยม, สามเหลี่ยม
  2. กลุ่มของรูปทรงกลม, ทรงรี, ทรงหยดน้ำ
  3. กลุ่มรูปทรงลูกบาศ์ก ได้แก่ ทรงกระบอก, ทรงกรวย,และยังรวมถึงเส้นตรง เส้นโค้งต่างๆ
รูปแบบการออกแบบเครื่องประดับ
  1. แบบแบน (Flat)
  2. แบบสองมิติ (Two dimension)
  3. แบบสามมิติ (Three dimension)
เมื่อเสร็จสิ้นการออกแบบ รวมไปถึงการผลิต เป็นชิ้นงานแล้ว ยังคงเค้าโครงโดยรวม เป็นรูปทรงเรขาคณิต ถ้าจะกล่าวถึงหลัก คณิตศาสตร์ เมื่อนำรูปแบบ และเส้นต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น มาแบ่งเป็นสองส่วน จะได้สัดส่วนที่เท่ากัน จะใช้เป็น หลักเกณฑ์ข้อหนึ่งชิ้นนั้นๆ เข้าไว้ในกลุ่มรูปทรง เรขาคณิตได้
กราฟฟิก คือการนำเอา จุด, ขีด, เส้น, ส่วนโค้ง, มุมต่างๆ มาประกอบกัน เป็นลวดลาย ก่อให้เกิดเป็นรูปทรง ได้ทั้งสองมิติ และสามมิติ
2. รูปทรงอิสระ (free form)
เป็นรูปทรงที่ตรงกันข้าม กับเรขาคณิต ถึงแม้จะมีเหลี่ยมมุม ส่วนโค้ง, เส้นต่างๆ แต่ไม่สามารถ บ่งบอกได้ชัดเจน ว่าเป็นรูปทรงอะไร รวมทั้งอ้างถึงตามหลัก คณิตศาสตร์ รูปทรงอิสระส่วนใหญ่ ก็ไม่สามารถแบ่งเป็นสองส่วน ที่เท่ากันได้ ในบางครั้งรูปทรงอิสระ คือการขีดเส้น ที่ไร้ทิศทางที่แน่นอน
3. รูปทรงธรรมชาติ (Natural Form)
การออกแบบรูปทรง เลียนแบบธรรมชาติ เป็นการนำรูปทรงที่มีอยู่ ตามธรรมชาติรอบตัวเรา เช่น ดอกไม้, ใบไม้, สัตว์ต่างๆ , สัตวน้ำ แมลง, มนุษย์ เป็นต้น มาใช้เป็นแม่แบบในการออกแบบโดยยังคงให้ความรู้สึกและรูปทรงที่เป็นธรรมชาติอยู่ ส่วนผลงานบางชิ้น ที่ออกแล้วล้อเลียนธรรมชาติ โดยใช้รูปทรงเช่น ตุ๊กตาหมี, การ์ตูน, อวัยวะของร่างกาย เป็นต้น เมื่อผลิตออกมาแล้ว ยังคงเป็นรูปทรงตามธรรมชาติ ให้เห็นอยู่ บางครั้งได้มีการนำวัสดุที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย, กิ่งไม้, ขนนก ฯลฯ เครื่องประดับแล้ว รูปทรงก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก เพียงแต่มีการนำวัสดุอื่น มาเพิ่มคุณค่า หรือราคาประดับเข้าไป
4. รูปทรงจากวัฒนธรรม การทำเครื่องประดับในอดีต (cultural and ethnical style)
หมายถึง การออกแบบเครื่องประดับ ในปัจจุบัน ค.ศ. 2000-2001 ที่ยังมีการนำเอาสไตล์ และยุคสมัย ของเครื่องประดับในอดีต กลับมาปรับปรุง, ดัดแปลง, เพิ่มเติม ให้เหมาะสมกับสมัยปัจจุบัน โดยที่ยังเห็นเค้าโครงเดิม และลักษณะ ยังคงคล้ายคลึงกับสไตล์ หรือยุคสมัยนั้นๆ แม้สัญลักษณ์ (symbol) ในอดีตบางอย่าง เช่น ตัวอักษรอียิปต์โบราณ ตัวอักษรของอินเดีย ตัวอักษรจีน ฯลฯ แม้กระทั่งสัญลักษณ์ ทางศาสนา ที่ยังมีการทำกันอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น รวมถึงการนำเอา กรรมวิธีการผลิตวัสดุบางอย่าง ที่เคยมีการผลิตและใช้ในอดีต กลับมาผลิตใหม่ วิธีการผลิต และรูปลักษณ์เดิมเอาไว้ เช่น Venetian cameo, lavastone-ware เป็นต้น
 ในปัจจุบัน การนำรูปทรงจากวัฒนธรรมการทำเครื่องประดับในอดีตมาใช้ในการออกแบบพอจะจัดแบ่งโดยสังเขปดังนี้
  1. เครื่องประดับอียิปต์โบราณ (Egyptian jewelry) และสมัยตุตันคาเมน (Tutankhamun jewelry)
  2. เครื่องประดับอินเดียโบราณ (Indian jewelry)
  3. เครื่องประดับสมัยอีทราสคาน (Etruscan jewelry)
  4. เครื่องประดับสมัยกรีกและโรมัน ( Greek and Roman jewelry)
  5. เครื่องประดับธิเบต (Tibetian jewelry)
  6. เครื่องประดับสไตล์บารอค (Baroque jewelry style)
  7. เครื่องประดับสไตล์เรอเนอซองค์ (Renaissance jewelry style)
  8. เครื่องประดับสมัยวิคตอเรี่ยน (Victorian jewelry)
  9. เครื่องประดับสไตล์อาร์ตนูโว (Art Nouveau style)
  10. เครื่องประดับสไตล์อาร์ตเดโค (Art Deco)
1. เครื่องประดับอียิปต์โบราณ (Egyptian jewelry)

จากการขุดพบทางโบราณคดี และการเปิดปิรามิดต่างๆ เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ชาวอียิปต์ได้เริ่มมีการทำเครื่องประดับแล้วตั้งแต่ 300 ปีก่อนคริสตศักราช ในอดีตผู้ที่สวมใส่เครื่องประดับคือ ฟาโรห์ และบุคคลต่างๆ ในราชสำนัก โดยเฉพาะเครื่องประดับ สมัยของฟาโรห์ เป็นสมัยที่รุ่งเรื่องมั่งคั่งสมัยหนึ่ง พบหลักฐานจากเครื่องใช้ รวมทั้งเครื่องประดับที่ถูกฝังไว้ ในปิรามิด ซึ่งมีจุดเด่นพอสังเขปได้ดังนี้
 1.เครื่องประดับทำด้วยทองคำ
 2. เทคนิคที่ใช้ ในการทำเครื่องประดับส่วนใหญ่ คือ การดุนลาย การฉลุลาย ส่วนลวดลายบนเครื่องประดับ ที่พบเป็นลวดลายจาก อักษรอียิปต์ โบราณ, รูปสัตว์ต่างๆ เช่น นกอินทรีย์ งูเห่า นกกระสารวมทั้งเทพเจ้าตามความเชื่อและภาพผู้คน
 3. มีการนำอัญมณีมาประดับ เช่น ลาพิสลาซูล, เทอร์คอยซ์ และคาเนเลี่ยน ในบางครั้ง พบว่ามีการใช้ พลอยอะเมทิส และลูกปัดแก้วสีต่างๆ มาประกอบ โดยการนำมาร้อยรวม กับทองคำหรือประดับบนชิ้นงานอีกด้วย
 4.มีการลงยาเป็นการเพิ่มสีสรรค์ให้กับเครื่องประดับ
 5. ประเภทของเครื่องประดับที่พบ มักเป็นสร้อยคอแข็งแบบเป็นแผง, สร้อยคอลูกปัดต่างๆ, ต่างหูกำไลข้อมือ, จี้ห้อยคอ, เครื่องประดับศรีษะ และประดับต้นแขน เครื่องประดับสไตล์ตูตันคาเมน (Tutankhamun Jewelry) เครื่องประดับสไตล์นี้ ถูกพบในสุสานของกษัตริย์ตูตันคาเมน ของอียิปต์ ช่วงก่อนคริสตศักราช 1339-1329 มัมมี่ของกษัตริย์ ซึ่งเก็บอยู่ในโลงศพทองคำ สามชั้น ที่อยู่ในห้องเก็บศพ ถูกประดับด้วยหน้ากาก มงกุฎ เกราะบริเวณหน้าอก สร้อยคอ แหวน ต่างหู ซึ่งล้วนเป็นทอง นอกจากนี้ ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ ที่ยังไม่เคยสวมใส่ ที่ถูกฝังสำหรับนำไปใช้ ในช่วงชีวิตหลังความตาย และเป็นเครื่องราง โดยชิ้นงานส่วนใหญ่มี การสลัก หรือเป็นลายฉลุ และมีการฝังด้วยดินเผา แบบอียิปต์หรือกระจกสีต่างๆ เพื่อเลียนแบบ เทอร์คว้อยซ์, หิน, คว้อยซ์ และลาปิซ ลาซูรี่ การประดับตกแต่ง ยังเป็นการแทนความสำคัญ ทางศาสนาอย่างเช่น เทพเจ้า หรือนกแร้ง, เหยี่ยว, นกกระสา หรืองูเห่าด้วย
2. เครื่องประดับอินเดียโบราณ (Indian jewelry)

เชื่อกันว่าอินเดีย ได้มีการทำเครื่องประดับ มาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล ได้มีการอ้างอิง ถึงในพระสูตร และจากการค้นพบ ทางโบราณคดี ของเครื่องประดับอายุ 2,500 ปี และประมาณ ศตวรรษที่ 5 ที่เมืองตักศิลา ซึ่งได้รับอิทธิพล จากพวกกรีกโบราณ และพวกปาเธีย โดย มีการทำเครื่องประดับ อย่างต่อเนื่อง ในอดีต ได้มีการแผ่อำนาจ ของอาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีอิทธิพล ต่อศิลปะวัฒนธรรม ต่อชาตินั้นๆ ทำให้อินเดียเอง รับศิลปะของชาติอื่นๆ เข้ามาเช่นกัน 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ อินเดียเคยถูกปกครอง โดยราชวงศ์โมกุล ที่มาจากแถบ เปอร์เซีย ในระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งในสมัยของราชวงศ์นี้ ความนิยม ในการสวมใส่เครื่องประดับ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย การสวมใส่ นอกจากประดับ ร่างกายตั้งแต่ศรีษะ จรดเท้าแล้ว เครื่องประดับ ยังถูกใช้แสดงถึงความมั่งคั่ง ของบุคคลหรือครอบครัว อีกกรณีหนึ่ง เป็นการสวมใส่ตามความเชื่อถือ เรื่องโชคลาง,เครื่องประดับ,สมัยราชวงศ์โมกุล จุดเด่นโดยสังเขปมีดังนี้
 1.เครื่องประดับทำจากทองคำและเงิน
 2.เทคนิคจะใช้วิธีรีดโลหะเป็นแผ่นบางๆแล้วนำไปดุนลายนูนและเดินลาย
 3.มีการนำอัญมณีมาประดับซึ่งมีขาดใหญ่ เช่น มรกตและทับทิม
 4. มีการใช้เพชร เนื่องจากอินเดีย การขุดพบเพชรเช่นกัน แต่เป็นเพชร คุณภาพต่ำ ถ้าเทียบกับเพชร จากแอฟริกาใต้ การเจียระไนเพชร ใช้เทคนิคค่อนข้างหยาบ เพชรจึงไม่มีเหลี่ยมมากนัก มีลักษณะแบบ”เพชรซีก”
 5. มุก เป็นวัสดุที่นำมาประดับมาก เช่นกัน โดยจะเห็นได้จากหลักฐาน ที่เป็นภาพเขียน และงานประติมากรรม
 6.มีการใช้เทคนิค granulate gold และ filigree มาใช้ด้วย
 7. มีการลงยา บนชิ้นงานเครื่องประดับ โดยเป็น เทคนิคการลงยาแบบ champleve enamel
 8. เครื่องประดับ ของอินเดีย มีสีสันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว สีที่ยืนพื้นจะเป็นสีแดง เขียว ขาว เหลือง
 9. เครื่องประดับ ในแต่ละแคว้นของอินเดีย ส่วนใหญ่ จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และหนัก ลวดลายที่นำมา ประดับประดา บนชิ้นงาน จะมีลวดลายค่อนข้างมาก ลายมักจะใหญ่ เป็นช่อ เป็นดอกหรือเถ้าดอกไม้และเป็นพู่
จากสิ่งแวดล้อม, ภูมิประเทศ, เส้นทางการค้า รวมถึงการแผ่อำนาจยึดครอง ต่อดินแดนต่างๆ ในสมัยโบราณ ทำให้การแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม และศิลปะเกิดขึ้น และแน่นอนว่า ผู้ที่เข้ายึดครองย่อมแผ่อำนาจ เหนือดินแดนเหล่านั้น ฉะนั้นเครื่องประดับ ของเอดทรูสคาน กรีก และโรมัน จึงมีความคล้ายคลึง เพราะเหตุนี้การแยกแยะ ทำได้ไม่ชัดเจน แต่พอจะหาจุดเด่น บางอย่างของยุคได้ดังต่อไปนี้
3. เครื่องประดับสมัยอีทราสคาน (Etruscan jewelry)

ชางอีทราสคาน เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ ในดินแดนทรูเดีย ซึ่งในปัจจุบัน คือ ตอนใต้ทัศคานี่ ในประเทศอิตาลี ตามประวัติศาสตร์ ถึงจะอาศัยในดินแดนแถบนั้น คนกลุ่มนี้มิใช่ชาวอิตาลี ศิลปะของชาวอีทราสคาน มีรากฐาน มาจากกรีกอย่างมาก เมื่อเป็นศิลปะ จากการยึดครองของโรมัน
ชาวอีทราสคาน ได้พัฒนาการทำเครื่องประดับ ของตน โดยเริ่มเทคนิคการผลิตบางอย่าง ที่เป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง จุดเด่นพอสังเขปมีดังนี้

1. เครื่องประดับ ส่วนใหญ่ทำด้วยทองคำ
2. ริเริ่มเทคนิค การทำ “granulate gold” เทคนิคการผลิตนี้คือ การนำเม็ดทองคำ ขนาดเล็กๆ มาวางเรียงกัน บนแผ่นทองคำ ตามลวดลายที่ต้องการ และใช้ความร้อนหลอม ทำให้เม็ดทองคำ ติดกับแผ่นทองคำ
3. ริเริ่มเทคนิคการทำ “filigree” เทคนิคการผลิต นี้คือ การนำลวดทองคำ เส้นเล็กๆ บางๆ มาดัด งอให้ได้ลวดลาย ตามต้องการ แล้วนำมาเชื่อมติดกัน โดยไม่มีฐานโลหะ รองรับซึ่งทำในสมัยนั้น แต่ในอดีตบางสมัย และปัจจุบันการทำเทคนิค แบบนี้จะมีฐานโลหะ รองรับลวดทองคำ
4. ในบางครั้ง การนำสัญลักษณ์หัวสัตว์ ที่ทำจากทองคำ ดุนลายนูนมาประดับปลาย กำไลข้อมือ หรือสร้อยคอ ยังได้มีการนำลูกปัดแก้ว สีต่างๆ มาใช้ประดับ และเทคนิคการลงยา ได้นำมาใช้เช่นกัน
5. ประเภทเครื่องประดับ ที่ทำในสมัยนั้น คือ สร้อยคอมือ, สร้อยคอทั้ง แข็งและอ่อน ต่างหู เป็นต้น
4. เครื่องประดับสมัยกรีกและโรมัน (Greek and Roman jewelry)

นื่องจากในปัจจุบัน การนำเครื่องประดับ สมัยกรีก และโรมันมาเป็นแม่แบบ นั้น มักจะนำของทั้งสองสมัย มาใช้ร่วมกันมาก และในอดีต ช่วงเวลาของสองอาณาจักร ใกล้เคียงกัน รวมไปถึงการเข้ามา ปกครองของอีกฝ่าย ทำให้เครื่องประดับ ของทั้งสองสมัย มีข้อแตกต่างไม่มากนัก จุดเด่นของแต่ละสมัย ที่พอจะหยิบยกมาให้พอสังเขปมีดังนี้

สมัยกรีก

เครื่องประดับของกรีก ในสมัยต้นๆ ได้รับอิทธิพล จากชาติอื่นๆ อยู่นานจนถึง ศตวรรษที่ 7 ได้เริ่มมีการ พัฒนาการทำ เครื่องประดับ จากแบบดั้งเดิมของตน โดยเฉพาะช่วงเวลา ที่เรียกว่า Classical period ประมาณ 475-323 ปีก่อนคริสตศักราช และ Hellenistic period ประมาณ 322่อนคริสตศักราช จนกระทั่งอาณาจักรโรมัน ได้ซึมซับวัฒนธรรม ของกรีกไปใช้ จุดเด่นพอสังเขปมีดังนี้

1. เครื่องประดับ ทำด้วยทองคำเป็นส่วนใหญ่
2. ใช้ลวดลายที่ทำจาก เทคนิคการ granulated gold และเทคนิคแบบ filigree ด้วย
3. ในตอนต้น ยังไม่ค่อยนิยมนำอัญมณีมาประดับ บนชิ้นงานมากนัก จนเข้าช่วง Hellenistic ได้มีการนำเอามาประดับ มากขึ้น
4. ประเภทของเครื่องประดับ ที่ทำในสมัยนั้นคือ แหวน, ต่างหู, รัดเกล้า, สร้อยคอ และข้อมือ
สมัยโรมัน
จากการที่อาณาจักรโรมัน แผ่อำนาจเข้าปกครองกรีก และดินแดนอื่นๆ ได้ซึมซับวัฒนธรรมของกรีก และคอนสแตนติโนเปิล เข้ามาใช ้ในการทำเครื่องประดับ ของตนมาก ใสช่วงต้นๆ ประมาณ 27 ปีก่อนคริสตศักราช การสวมใส่ เครื่องประดับต่างๆ รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ ที่ทำจากทองคิ่งต้องห้าม ในภายหลัง ได้เริ่มผ่อนคลายลง ให้เริ่มมีการพัฒนา การทำเครื่องประดับขึ้นมา จุดเด่นพอสังเขปมีดังนี้
1. เครื่องประดับ ทำด้วยทองคำเป็นส่วนใหญ่
2. มีการนำอัญมณี และแก้วสีต่างๆ มาประดับบนชิ้นงาน อย่างแพร่หลาย อัญมณีที่ใช้มากอย่างหนึ่งคือ มรกต (emerald) และไม่ได้รับการฝัง แต่อย่างใด
3. มีการใช้เทคนิคการ granulated gold และเทคนิคแบบ filigree บ้างแต่ไม่มาก
4. มีการนำเทคนิค ที่เรียกว่า Niello หรือการ ลงยาถม มาใช้ในการ ทำเครื่องประดับ การทำ Neillo หรือยาถม คล้ายกับการลงยา แต่สีสันที่ได้จะไปทางโลหะมากกว่า การลงยาที่มีสีสันสดใส โดยนำแผ่นทองคำ หรือเงินมาแกะลาย ลงบนพื้นผิว ด้วยเครื่องมือ ที่มีปลายแหลม จากนั้นนำโลหะผสม (Alloy) ชนิดหนึ่งที่ผสม จากกรดกำมะถัน, เงิน, ทองแดง และตะกั่วผสม กับของเหลว แล้วนำมาทาลงบนชิ้นงาน ที่เตรียมไว้ เป่าไฟด้วยความร้อน ถึงจุดหลอม ของแอลลอย แอลลอยก็จะวิ่งไปตามลวดลาย ที่แกะไว้ ทิ้งชิ้นงานให้เย็น จากนั้นนำไปขัดส่วน ที่เลอะออก ลวดลาย ก็จะปรากฏ
5. ประเภทเครื่องประดับ ที่ทำในสมัยนั้นคือ ต่างหู ซึ่งเป็นเครื่องประดับ ที่ได้รับความนิยมมาก ในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ทรงกลมแบบลูกบอล (ball ear-ring) หรือแบบ ห้อยระย้า (chandelier ear-ring) หรือ แบบห่วง (hoop ear-ring) นอกจากนี้ ยังมีสร้อยคอ, สร้อยข้อมือ ประดับสร้อยคอ เป็นต้น
6. แหล่งผลิตเครื่องประดับ ที่สำคัญในสมัยนั้น อยู่ที่กรุงโรม และอเล็กซานเดรีย
ในปัจจุบัน การนำทั้งสองสมัย มาเป็นแม่แบบ ได้มีการนำกรรมวิธีการผลิต วัสดุบางอย่าง มาใช้ประดับบนชิ้นงาน ซึ่งได้กล่าวไว้ ข้างต้นแล้วคือ Venetian cameo และ Lavastone-ware Venetian cameo คือ แก้วเป่ามูราโน่ ที่แกะสลัก เป็นลวดลายนูน ซึ่งใช้กรรมวิธีดั้งเดิม เช่นเดียวกับในอดีต ลวดลายได้เลียนแบบ จากของเดิม ที่ขุดพบใน Aquileian และจากที่อื่นๆ ลวดลายที่ทำจะใช้แม่แบบ ของสมัยโรมัน และขอลเมโสโปเตเมีย
Lavastone-ware คือ หินที่เกิดจากการแข็งตัว ของลาวา ในอดีตขุดพบ ในแถบ Irpinia (ในปัจจุบันคือตอนใต้ ของประเทศอิตาลี) การแกะสลักลวดลายนูน บนหินลาวานี้ ได้ยึดถือตามแบบเดิม สีสันเป็นสีของดินเผา (Terra) จากนำ้ตาลอ่อน ไปจนนำ้ตาลแก่ ลวดลายที่แกะสลักบน Venetian cameos และ Lavastone-ware ได้นำลวดลายดั้งเดิม จากเมโสโปเตเมีย และของกรีก และโรมัน มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น รูปเทพเจ้า, นักรบ, หัวเมดูซ่า รวมทั้งสัตว์ในเทพนิยาย ปรำปรา เช่น ครึ่งหนึ่งแพะ ครึ่งหนึ่งเป็นคน เป็นต้น การนำกรรมวิธีผลิต กลับมาใช้อีก หลังจากที่ถูกละเลยมานาน ทำให้มีการทำเครื่องประดับ ที่ใช้วัสดุนี้ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
5. เครื่องประดับธิเบต (Tibetan jewelry)

เครื่องประดับ ที่ทำในธิเบต จะอยู่ภายใต้วัฒนธรรม ของศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ที่ให้ความสำคัญ ทางศาสนามา เป็นงานศิลปะ ซึ่งจะเน้นในรูปแบบ ที่เป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยไม่มีหลักฐาน ที่มาของกลุ่มผู้ทำ เครื่องประดับ จึงทำให้ยาก ต่อการอ้างเหตุผล ถึงสถานที่มา และช่วงเวลา การประดับวัสดุ นั้นจะฟุ่มเฟือยมาก เพราะจะปิดคลุมหมด ทั้งพื้นผิว โดยสไตล์แบบนี้ จะได้รับอิทธิพล มาจากเพื่อนบ้าน อย่าง แคชเมียร์ เนปาล จีน และอินเดีย แต่จะเป็นสไตล์ แบบพื้นเมือง
งานส่วนใหญ่ ทำด้วยทอง เงิน และ ทองแดงปิดทอง ส่วนอัญมณี จะถูกนำมาใช้ อย่างฟุ่มเฟือยมาก โดยเฉพาะเทอร์คว้อยซ์ ที่ได้มาจากภายในท้องถิ่น และนำเข้า รวมไปถึงมรกต, ผลึกหิน (Rock Crystal), ปะการัง, ลาปิส ลาซูรี่ และกระจกส ีที่นำมาใช้ สมัยศตวรรษที่ 19 หญิงและชาย เครื่องประดับกันโดยทั่วไป ซึ่งมีทั้งแหวน ที่หนีบผม ต่างหู และมงกุฎอื่นๆ
6. เครื่องประดับสไตล์บารอค (Baroque Jewelry)

ศิลปะการตกแต่ง สไตล์นี้ได้รับการพัฒนา ก่อนปี 1600 ไม่นานและยังคงใช้อยู่ จนถึงปัจจุบันในยุโรป จนกระทั่งเกิดสไตล์แบบ ร็อคโกโก้ ขึ้นเมื่อปี 1730 โดยเริ่มต้นที่ประเทศอิตาลี และแพร่ขยาย ไปยังเยอรมนี ออสเตรีย สเปน และปอร์ตุเกส รูปแบบที่คลาสสิคบางส่วน ได้รับความนิยม ในประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งเป็นสไตล์ที่พัฒนา มาจากสไตล์ เรอเนสซองค์ โดยมีรูปแบบที่มีชีวิตชีวา มีส่วนโค้ง และมีการเคลื่อนไหว รวมไปถึง การมีการประดับประดา อย่างมาก ซึ่งต่างจาก สไตล์แบบร็อคโกโก้

สมัยบาร็อก ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะใส่เครื่องประดับ ที่หรูหรากันมาก โดยส่วนใหญ่ มักนิยมใช้มุก หรืออัญมณี เป็นเครื่องประดับ มากกว่าใช้เครื่องประดับแบบลงยา หลากสี จนถึงช่วง ศตวรรษ 1630-1680 รูปแบบที่เป็นดอกไม้ ตามธรรมชาติ จึงมีความโดดเด่นขึ้น และมักใช้เพชร มาประดับตกแต่ง
7. เครื่องประดับสไตล์เรอเนสซองส์ (Renaissance jewelry)

เครื่องประดับอัญมณี ที่ทำขึ้นในสมัย เรอเนสซองส์ จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นศตวรรษที่ 17 สไตล์ของเครื่องประดับ แบบนี้ ได้รับการพัฒนา ในประเทศในอิตาลี และแพร่ขยาย ไปยังฝรั่งเศส สเปนและอังกฤษ นักออกแบบอัญมณี ที่มีชื่อเสียงคือ เบนเวนูโต้ เซลลินี่ โฮลไบน์ เครื่องประดับที่ได้รับความนิยม ส่วนใหญ่เป็นพวก เข็มติดหมวก, จี้ และแหวน ซึงใช้วิธีการฝังและเจียระไน รูปคนและสัตว์ การตกแต่ง มักจะใช้ในรูปของงานด้าน สถาปัตยกรรม
8. เครื่องประดับสมัยวิคตอเรี่ยน (Victorian jewelry)

เครื่องประดับสมัยนี้ เกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จ พระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ในตอนต้นของสมัย ยังได้รับอิทธิพล ของเครื่องประดับ สมัยโกธิค และเรอเนอซองส์ อยู่มาก กลางสมัย เนื่องจากอังกฤษ ได้แผ่อำนาจมีอาณานิคม ไปทั่วโลก การนำวัตถุดิบ จากแดนที่ต่างๆ เช่น ไข่มุกต่างๆ และเพชรคุณภาพดี จากแอฟริกาใต้ มาใช้ประกอบ เป็นเครื่องประดับ จึงง่าย

เครื่องประดับสมัยวิคตอเรี่ยน เกิดความนิยมมากที่สุด ในช่วงที่เจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามี ของสมเด็จพระนางเจ้า วิคตอเรีย สิ้นพระชนม์ ในค.ศ. 1861 เพราะใช้เป็นเครื่องประดับ สำหรับไว้ทุกข์ (Mouning jewelry) เนื่องจาก เครื่องประดับ วิคตอเรี่ยน โดยมากมักใช้เพชร และไข่มุก บนชิ้นงาน ซึ่งสีสันไม่สะดุดตา เหมาะสำหรับการไว้ทุกข์ เครื่องประดับสมัยวิคตอเรี่ยน จะนำอัญมณีอื่นๆ มาใช้เช่นกัน เช่น โกเมน (garnet), เทอร์คอยซ์ (turquoise), นิล (onyx) เป็นต้น ประเภทของเครื่องประดับ ที่ทำในสมัยนั้นคือ แหวน, สร้อยคอ, สร้อยและกำไลข้อมือ, เข็มกลัด ฯลฯ
9. เครื่องประดับสไตล์อาร์ตนูโว (Art Nouveau Jewelry)

ในปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้า ของเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ หรือการผลิต โดยเน้นไปในทิศทาง ด้านศิลปะเป็นหลัก ซึ่งได้รับอิทธิพลมากจาก ศิลปะของทางตะวันออก คือ ภาพเขียนของญี่ปุ่น เครื่องประดับสไตล์นี้ ได้ชื่อมาจาก แกลเลอรี่การตกแต่ง ในเมืองปารีส ชื่อของแกลเลอรี่คือ Maison de l’Art Nouveau ซึ่งเจ้าของคือ นายซีกฟรีด บิงค์ นักออกแบบสไตล์นี้ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักคือ วิลเลี่ยม มอริส ซึ่งเป็นคนริเริ่มขึ้น ผู้ที่ผลงานมีคนรู้จัก มากที่สุดคือ เรเน่ ลาลิค นักออกแบบ ชาวฝรั่งเศส นอกจากองรี วีเว็ต, ลูเชี่ยน จิลลาด, จอร์จ ฟูเช, ฟิลลิปป์ โวลเฟอร์ จากประเทศเบลเยี่ยม และหลุยส์คอมฟอร์ด จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งล้วนแล้วมีผลงาน ในสไตล์นี้ทั้งสิ้น

อาร์ต นูโว มีลักษณะเด่นในด้านเครื่องประดับ คือ

1. อาร์ตนูโว เป็นเครื่องประดับ ที่แสดงความเคลื่อนไหว (free flowing movement) ก่อให้เกิดความ มีชีวิตชีวา ความสิเหน่หา (passion) เมื่อนำทุกองค์ประกอบ มารวมกันแล้ว เกิดเป็นโลกแห่งจินตนาการ ที่แปลกแหวกแนว โดยนำธรรมชาติ รอบตัวไม่ว่าจะเป็นแมลง, สัตว์ทะเล, ดอตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งมนุษย์ ใบหน้าหญิงสาว มาใช้เป็นลวดลายหลัก
2. เทคนิคที่นิยมมาก ในสไตล์อาร์ต นูโว คือ เทคนิคการลงยา (enameling) และแบบที่ใช้มากที่สุด ในการลงยาแบบ plique-a-jour ตัวอย่างเช่น ปีกแมลงปอ ตามความเป็นจริงนั้น จะใสแลดูเบา เมื่อนำการลงยา แบบที่กล่าวไว้มาใช้ จะให้ความรู้สึกเหมือน ปีกแมลงจริงๆ
3. มักจะประดับด้วยมุก และอัญมณี อัญมณีที่ใช้มักจะเจียระไน แบบหลังเบี้ย (cobochon-cut) มากกว่าเจียระไน แบบมีเหลี่ยม
4. ชิ้นงานของอาร์ตนูโว ส่วนใหญ่ จะออกมาในแบบ 3 มิติ
5. ประเภทเครื่องประดับ ที่ทำขึ้นคือ จี้ห้อยคอ, สร้อยคอ, สำหรับประดับศรีษะ, สร้อยคอ และกำไลข้อมือ, เข็มกลัด เป็นต้น
10. เครื่องประดับสไตล์อาร์ตเดโค (Art Deco jewelry)

สไตล์อาร์ตเดโค เริ่มเมื่อประมาณค.ศ. 1909 เป็นการเปลี่ยนแปลง ทางด้านศิลปะ และการทำเครื่องประดับ ซึ่งแตกต่าง จากสไตล์อาร์ตนูโว โดยสิ้นเชิง ความโดดเด่นของเครื่องประดับ สไตล์นี้คือ ใช้รูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก เช่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส, สามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยมผืวงกลม อัญมณีที่นำมาใช้มากคือ เพชร และในสมัยนั้น ได้เกิดการเจียระไนเพชร แบบใหม่ขึ้น เช่น baguette, table,square ซึ่งเหมาะ กับการออกแบบสไตล์นี้ นอกจากนี้พลอยเนื้อแข็ง ที่ใช้มี มรกต ไพลิน พลอยเนื้ออ่อน ที่นำมาประดับมี อะเมทิส, อความารีน, ลาพิสลาซูลี, หยก, ปะการัง, โทปาส, นิล, เทอร์คอยซ์ และหินคริสตัล เป็นต้น การฝังอัญมณีส่วนใหญ่ จะเป็นการฝังแบบไข่ปลา pav’e setting และการฝังแบบฝังรีด channel setting มีการใช้เทคนิคการลงยา เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าอาร์ตนูโว ซึ่งสีสันที่ใช้เป็นหลักจะมีอยู่ 3 สี คือ แดง,ดำ,ขาว 

ลักษณะเด่นคือ

1. งานแบบอาร์ตเดโค ส่วนใหญ่ จะออกมาในแบบ แบน (Flat) และ 2 มิติ (2 dimensional)
2. ประเภทเครื่องประดับ ที่ทำขึ้นคือ ต่างหู, สร้อยคอ, สร้อยข้อมือ, เข็มกลัด, จี้ห้อยคอ เป็นต้น
3. บริษัทที่เริ่ม และเป็นผู้นำ ในสมัยนั้น คือ Cartier, Van Cleef & Arpels, Boucheron เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: