เครื่องประดับในอิหร่าน

ชาวอิหร่านเป็นชนชาติที่ชื่นชอบเครื่องประดับและอัญมณีล่ำค่ามาตั้งแต่โบราณกาล และนิยมเลือกซื้อเครื่องประดับที่สวยงาม มีการออกแบบและประดิษฐ์ที่ประณีต พิถีพิถัน โดยชาวอิหร่านมักจะซื้อเครื่องประดับ อัญมณี และทองคำ ในโอกาสต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานปีใหม่ (Norooz) และงานรื่นเริงต่างๆ
เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับของอิหร่านยังมีการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ผู้ค้าและผู้ผลิตอัญมณีอิหร่านจึงเน้นการผลิตหรือการนำเข้า เพื่อป้อนความต้องการของตลาดภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยมุ่งเป้าตลาดไปที่ประชาชนภายในประเทศกว่า 67 ล้านคนและชาวอิหร่านในต่างประเทศที่กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ นักธุรกิจอิหร่านเดินทางไปประเทศไทยเพื่อเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair เป็นมากทุกปี แต่การนำเข้าสินค้าอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับจากไทยส่วนใหญ่ ยังเป็นลักษณะถือติดตัวเข้าทางสนามบินโดยไม่ผ่านกระบวนการทางศุลกากรแต่อย่างใด
การที่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอิหร่านยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ก็เนื่องจากที่ผ่านมา อิหร่านไม่มีนโยบายและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ อย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังขาดปัจจัยสำคัญอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ขาดแรงงานทักษะฝีมือชั้นสูง ขาดการพัฒนาการออกแบบอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับ ขาดสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ขาดการลงทุนที่เหมาะสม ขาดแคลนเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัย และขาดแคลน Know-how เป็นต้น
อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การส่งออกหรือนำเข้าสินค้าอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับภายใต้พิกัดศุลกากร 71 ทุกรูปแบบ จะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน และได้รับการยินยอมจากธนาคารชาติแห่งอิหร่านและ Money and Credit Council ก่อน ซึ่งทำให้การส่งออกหรือนำเข้าอัญมณี ทองคำ ของอิหร่าน ยุ่งยากและมักไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการส่งออก
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเจาะตลาดสินค้าอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับในอิหร่านไม่ง่ายนัก และยุทธ์ศาสตร์การเจาะตลาดอิหร่านที่น่าจะได้ผลมากที่สุดก็คือการ “บุกตลาดอิหร่านจากภายในอิหร่าน” โดยนักธุรกิจไทยน่าพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงทุนตั้งฐานการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับร่วมกับนักธุรกิจในอิหร่านที่เชื่อถือได้ในอิหร่านนอกเหนือจากการส่งออกดังเช่นในปัจจุบัน ซึ่งวิธีนี้ นักธุรกิจไทยจะสามารถจำหน่ายสินค้าป้อนตลาดอิหร่านได้ง่ายขึ้น เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ และมีโอกาสใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของอิหร่านที่มีอยู่มหาศาลในการผลิตสินค้าได้ เช่น ทองคำ เป็นต้น 1
สคร. ณ กรุงเตหะราน ได้มีโอกาสพบปะหารือกับกลุ่มนักธุรกิจอิหร่านภายใต้ชื่อกลุ่ม Tehran Gold Cluster ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ค้าอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับชาวอิหร่านจำนวน 10 บริษัท และจำหน่ายสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า “Daric” (www.irandaric.com) โดยผู้นำกลุ่มชื่อนาย Mohamad Hossein Seighali
นาย Seighali กล่าวว่าทางกลุ่มมีความต้องการที่จะพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับของตนเองในอิหร่านเป็นอย่างยิ่ง โดยทางกลุ่มได้เดินทางไปประเทศไทยเพื่อไปเยือนงานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair ทุกปี และตระหนักดีถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับของไทย จึงมีความต้องการร่วมมือกับนักธุรกิจไทย เพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีฯ ในอิหร่าน ซึ่งนาย Seighali เสนอแนวทางดำเนินการดังต่อไปนี้
- จัดประชุม ไทย-อิหร่าน ในระดับรัฐ เพื่อร่วมกำหนดแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ระหว่างกัน
- จัดประชุม ไทย-อิหร่าน ในระดับนักธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ ความรู้ การส่งออกและการนำเข้า ฯลฯ
- ขอให้บริษัทผลิตอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับไทย ออก License ให้ผู้ประกอบการอิหร่าน เพื่อผลิตสินค้าอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับภายใต้ License ที่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดในกรุงเตหะราน
- เชิญนักธุรกิจชาวไทยและอิหร่านร่วมลงทุน (Joint Venture) ผลิตสินค้าอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับในอิหร่าน
- ขอความร่วมมือรับบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญชาวอิหร่านไปฝึกอบรมและรับความรู้ทางเทคนิค ณ สถานฝึกอบรมเฉพาะด้านการออกแบบ ผลิตอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับในไทย
- ส่งผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญงานชาวไทยไปเปิดสอนและให้การฝึกอบรมต่างๆ ในอิหร่าน
- ขอความร่วมมือสถาบันต่างๆ ของไทย เปิดศูนย์ฝึกอบรมด้านทักษะการผลิตอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับในอิหร่าน
นาย Seighali กล่าวอีกว่า เนื่องจากภาครัฐของอิหร่านมิได้พัฒนาอุตสาหกรรมทองคำและอัญมณีในประเทศอิหร่าน ส่งผลให้ทักษะและความชำนาญ ตลอดจนความรู้เฉพาะด้านของบุคคลากรอิหร่านถูกละเลย แต่อย่างไรก็ดี การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ยังเป็นที่น่าสนใจและน่าจับตามองสำหรับนักลงทุน เนื่องจากแนวโน้มและอุตสาหกรรมฯ ในอิหร่านมีแนวโน้มที่จะพัฒนาและต้องการการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในด้านต่างๆ เช่น ด้านการผลิต เพื่อรองรับการขยายตลาดทั้ง ภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะตลาดในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง อาทิเช่น ประเทศในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และ ประเทศเอเชียไมเนอร์ และอิรัก โดยอิหร่านตั้งเป้าจะขยายการส่งออกให้ได้ร้อยละ 5 และขยายตลาดภายในประเทศให้ได้ร้อยละ 7 ภายในปี 2553
กลุ่ม Tehran Gold Cluster ได้กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมของตนดังต่อไปนี้
1. จัดสัมมนา ฝึกอบรมให้ความรู้ทางการตลาดภายในประเทศ
2. เดินทางไปศึกษาดูงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ
3. ก่อตั้งเครือข่ายและขยายความสัมพันธ์ทางการตลาด
4. ก่อตั้งเครือข่ายและขยายความสัมพันธ์ด้านการแสดงหาวัตถุดิบ
5. ขยายการให้การบริการด้านคำปรึกษาเรื่องการทำประกันภัย ภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
6. ก่อตั้งสถาบันด้านการออกแบบสินค้าอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับในอิหร่าน
7. ก่อตั้งหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาและให้การแนะนำในเรื่องการเพิ่มคุณภาพด้านการผลิต
8. ปรับปรุงโครงสร้างระบบการผลิตและการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการในกรุงเตหะรานที่อยู่ในระยะรัศมีไม่เกิน 120 กิโลเมตร
9. อำนวยความสะดวก ตลอดจนการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบการและผู้ผลิตทองคำ
10. ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกในตลาดภูมิภาค
11. ฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านการตลาดและการส่งออกทองคำ
12. ศึกษาและวิจัยการตลาดในกลุ่มประเทศเป้าหมาย
13. ก่อตั้งหรือขยายการบริการด้านการตลาดในกลุ่มประเทศเป้าหมาย
14. ก่อตั้งหน่วยงานที่ให้ความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ
15. เปิดภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฯ ระดับมหาวิทยาลัยในอิหร่าน
16. เปิดให้การอบรมความรู้ด้านการหลอมทอง มาตรฐานของทอง การออกแบบและกระบวนการต่างๆ
17. จัดสัมมนาและอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการในส่วนของอุตสาหกรรมฯ
18. เยี่ยมชมหน่วยงานหรือกลุ่มอุตสาหกรรมฯ ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ
ปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอัญมณี ทองคำและเครื่องประดับของอิหร่านที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ และมีใบอนุญาตหรือใบประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่
- สมาคมพลเรือน ทองคำและอัญมณี
No. 219, unit 4, 3rd Floor, Opposite Jam St, between Darya St, and Modares St, Motahari Ave, Tehran, Iran
3
Tel: +98 21 88545034-35
- สมาคมกลุ่มผู้ประกอบการและผู้ค้าทองคำ อัญมณี เครื่องเงิน เหรียญทอง และผู้แลกเปลี่ยนเงินตรากรุงเตหะราน
No. 122, Between Iran Shahr and Forsat St, Somayyah Ave, Tehran , Iran
Tel: +98 21 88810037-9
- สมาคมกลุ่มผู้มีอาชีพอุตสาหกรรมเครื่องประดับทองคำ เครื่องประดับและเครื่องเงินกรุง เตหะราน
No.69, Sout Ostad nejatullahi St, Tehran, Iran
Tel: +98 21 88932061
- สมาคมทองคำและเครื่องประดับเขตชามีรอนอต
No.258, Zaem Alley, Next to Qanadi Kasko, Shahrdari Sq, Tajrish Sq, Tehran, Iran.
Tel: +98 21 22700476
นาย Seighali กล่าวอีกว่าขณะนี้สหพันธ์ผู้ผลิตและผู้ส่งออกทองคำและอัญมณีแห่งอิหร่านได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์ที่จะยกระดับอุตสาหกรรมทองคำอิหร่านให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ต่อไป
ทั้งนี้ สคร ณ กรุงเตหะราน เห็นว่ากลุ่ม Tehran Gold Cluster เป็นกลุ่มนักธุรกิจอิหร่านรุ่นใหม่ ไฟแรง มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตอัญมณี ทองคำ และเครื่องประดับในอิหร่าน ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีของนักธุรกิจไทยที่จะร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมฯ และตลาดอัญมณีและทองคำในอิหร่าน เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าในอิหร่าน ซึ่งหากนักธุรกิจไทยรายใดสนใจ สามารถติดนาย Mohamad Hossein Seighali อีเมล์ Tehran@TGoldCDA.org
ที่มา : สคร ณ กรุงเตหะราน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น